Topic outline

  • บทนำ

    •           ความมั่นคงและปลอดภัยด้านไซเบอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในโลกยุคดิจิทัลเห็นได้จากการเติบโตของตลาดเทคโนโลยีการสื่อสารในการใช้โทรศัพท์มือถือของประชากรไทยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2552 จนถึง ปัจจุบัน โดยปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่ออานวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทากิจกรรมต่างๆ ได้มากมาย เช่น การรับส่งอีเมล์ การถ่ายภาพและเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค การโพสต์ข้อความติชมให้กับเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ การอ่านข่าวและโพสต์ความเห็นในเว็บไซต์ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ การทาธุรกรรมธนาคาร เป็นต้น การเข้าถึงระบบเครือข่ายจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในชีวิตประจำวันซึ่งให้ความสะดวก สบาย ความเพลิดเพลิน และยังเป็นแหล่งความรู้ที่สาคัญ แต่ผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยความตระหนักรู้ถึงภัยอันตรายและความเสี่ยง รู้วิธีการป้องกันและจัดการภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น อีกทั้งต้องรู้จักการเคารพสิทธิผู้อื่นที่ในการอยู่โลกไซเบอร์อีกด้วย
                อาชญกรรมไซเบอร์ (อดีตใช้คำว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์) มีสาเหตุมาจากผู้ตั้งใจกระทำความผิดและผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงและภัยอันตรายของการใช้และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
                ประเภทของอาชญกรรมทางไซเบอร์ที่ในปัจจุบันจะได้พบเจอตามข่าว การข้อมูลอินเทอร์เน็ตต่างๆ คือการฉ้อฉลหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ รองลงมาคือการพยายามบุกรุกเข้าระบบ ความพยายามรวบรวมข้อมูลของระบบ โปรแกรมไม่พึงประสงค์ และเนื้อหาที่เป็นภัยคุกคามต่อประชาชน เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่อาจจะถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ไม่ยาก การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเรื่องเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดทั้งกับชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ปกครองในการดูแลและสอนบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันภัยอันตราย
                จากข้อมูลตามข้างต้น ฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีเล็งเห็นและให้ความสำคัญต่อความมั่นคง ปลอดภัยในด้านไซเบอร์ แก่บุคลากรและนักเรียนถือเป็นสิ่งที่ต้องมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัย และแนวทางการป้องกันตัวเองให้ไกลจากภัยที่อาจจะเกิดขึ้น และไม่เป็นผู้ที่กระทำความผิดตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 โดยมุ่งเน้นที่จะเพิ่มช่องทางและวิธีการในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงจากการใช้งานบนโลกไซเบอร์ ภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ต่างๆ แนวปฏิบัติที่ง่ายและเป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันภัยเหล่านั้น

  • EP 1 ACT Cyberclean -- Cyberbullying

  • EP 2 ACT Cyberclean -- กลโกงออนไลน์

  • EP 3 ACT Cyberclean -- ชัวร์ก่อนแชร์

  • EP 4 ACT Cyberclean -- 10 วิธี ป้องกันภัยคุกคามทาง E- mail

  • EP 5 ACT Cyberclean -- พฤติกรรมเสี่ยงคุก ในโลกออนไลน์

  • EP6 ACT Cyberclean -- 5 นิสัย ที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อ อาชญากรออนไลน์

  • EP7 ACT Cyberclean -- การพนันออนไลน์